กระบวนการของ DRM ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนใหญ่ ดังนี้
1. การปกป้องและแจกจ่ายเนื้อหา
โปรแกรม Windows Media Encoder 9 ได้รวมเทคโนโลยี DRM ไว้ในตัวเพื่อปกป้องเนื้อหาในระหว่างกระบวนการเข้ารหัสข้อมูล ในการใช้วินโดวส์มีเดีย เพื่อปกป้องเนื้อหานั้น ประการแรก ที่คุณจะต้องไปเปิดบัญชีกับผู้ให้บริการออกใบอนุญาตเสียก่อน จากนั้นให้ผู้บริการออกใบอนุญาตและจัดโครงร่างหรือโพรไฟล์ที่บรรจุข้อมูลที่จำเป็นในการสร้างกุญแจเข้ารหัสลับให้ ผู้ให้บริการออก ใบอนุญาตก็จะมีข้อมูลเดียวกันกับคุณในการสร้างกุญแจ รหัสลับที่จะแนบรวมเข้าไปในใบอนุญาตนั้น เมื่อเปิดบัญชีแล้ว คุณก็สามารถใช้โครงร่าง DRM นี้ ในการปกป้องเนื้อหาของคุณได้ ในระหว่างกระบวนการเข้ารหัส โครงร่าง DRM จะถูกใส่ข้อมูลที่จำเป็นเพิ่มลงไปในส่วนหัวของเนื้อหา และ เมื่อเนื้อหานั้นเข้ารหัสลับเสร็จแล้ว คุณก็สามารถแจกจ่ายสื่อปิดผนึกนี้ออกไปได้ตามปกติ เช่น คุณสามารถออกอากาศสายธารปิดผนึกนี้ หรือทิ้งแฟ้มสื่อนี้ไว้บนเว็บไวต์ หรือแจกจ่ายออกไปในรูปของแผ่นซีดี หรือดีวีดี เป็นต้น
2. การเปิดเล่นสื่อปิดผนึก
ในการเปิดเล่นสื่อปิดผนึก ผู้ใช้ต้องใช้เครื่องเปิดที่สนับสนุนเทคโนโลยี DRM ของไมโครซอฟต์ เมื่อผู้ใช้พยายามจะเปิดสื่อหรือสายธารปิดผนึกนี้เครื่องเล่นจะค้นหาใบอนุญาตที่ใช้ได้ ในคอมพิวเตอร์หรือเครื่องเล่นของผู้ใช้ หากเครื่องเล่นหาใบอนุญาตไม่พบ มันก็จะนำส่วนหัวของ เนื้อหาที่ระบุที่อยู่ของเว็บไซต์ เพื่อทำการขอใบอนุญาตต่อไป
กระบวนการขอใบอนุญาตนี้ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายอย่าง เช่น ผู้ใช้ต้องจ่ายเงินหรือ ลงทะเบียนก่อนหรือไม่ คุณอาจต้องการแจกจ่ายเนื้อหาที่เป็นการส่งเสริมการขาย โดยให้ผู้บริการ ออกใบอนุญาตแบบใช้งานฟรีได้ไม่เกินหนึ่งอาทิตย์และเนื่องจากไม่จำเป็นต้องมีการแลกเปลี่ยนอะไรกับใบอนุญาตชนิดนี้ ดังนั้นใบอนุญาตจึงออกให้เป็นแบบเงียบได้โดยไม่รบกวนผู้ใช้ หรือไม่คุณอาจต้องการข้อมูลบางอย่างจากการลงทะเบียน เช่น ที่อยู่อีเมล์เพื่อแลกเปลี่ยนกับใบอนุญาต ในกรณีนี้ผู้ใช้จะต้องกรอกแบบฟอร์มที่จำเป็นก่อนที่จะได้รับใบอนุญาตเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับการเปิดเล่นสื่อนั้น เมื่อได้รับใบอนุญาตแล้ว ผู้ใช้ก็สามารถเปิดเล่นเนื้อหาได้ตามเงื่อนไขที่ ปรากฏในใบอนุญาตเท่านั้น หากผู้ใช้พยามยามจะเปิดเล่นเนื้อหาที่ใบอนุญาตใช้ไม่ได้0หรือหมดอายุแล้ว กระบวนการขอใบอนุญาตก็จะเริ่มขึ้นใหม่อีกครั้ง
เมื่อคุณจะจดทะเบียนกับผู้ให้บริการออกใบอนุญาตแล้ว คุณและผู้ให้บริการออกใบอนุญาต จะเป็นผู้กำหนดกระบวนการขอใบอนุญาตและสิทธิที่จะให้ในใบอนุญาตนั้นร่วมกัน
3. การออกใบอนุญาตสำหรับเนื้อหาปิดผนึก
เมื่อผู้ใช้พยามยามเปิดเล่นเนื้อหาปิดผนึกที่ใบอนุญาตหมดอายุแล้วเครื่องเล่นจะส่งคำร้องขอ ใบอนุญาตไปยังผู้ให้บริการออกใบอนุญาตคำร้องขอใบอนุญาตนี้จะประกอบด้วยส่วนหัวของเนื้อหาปิดผนึกและข้อมูลระบบของเครื่องเล่นของผู้ใช้ด้วย ข้อมูลส่วนหัวนี้ได้แก่ ที่อยู่เว็บไซต์ที่จะขอใบอนุญาตและข้อมูลของเนื้อหาที่จะขอเปิดเล่น ข้อมูลระบบจะแสดงถึงระบบปฏิบัติการและเครื่องเล่นสื่อของผู้ใช้ เนื่องจากระบบปฏิบัติการและเครื่องเล่นแต่ละแบบอาจจะมีระบบความปลอดภัยเพิ่มเติม อื่น ๆอีก ผู้ให้บริการออกใบอนุญาตอาจต้องออกใบอนุญาตที่มีข้อจำกัดน้อยที่สุด โดยใช้พื้นฐานจาก ข้อมูลระบบที่ส่งไปให้นี้ ในการร้องขอใบอนุญาต ผู้ให้บริการออกใบอนุญาตสามารถตรวจสอบได้ว่าใครเป็นเจ้าของเนื้อหานั้น เมื่อทราบว่าใครเป็นเจ้าของแล้วผู้ให้บริการออกใบอนุญาตจึงกำหนดสิทธิ ที่จะใส่ลงไปในใบอนุญาตและชนิดของกุญแจที่จะสร้างขึ้น หลังจากผู้ใช้ได้จัดการตามที่ใบอนุญาตต้องการแล้ว ผู้ให้บริการออกใบอนุญาตก็จะออกใบอนุญาตให้
การขึ้นบัญชีกับผู้ให้บริการออกใบอนุญาต
ก่อนที่คุณจะทำการปกป้องเนื้อหาสื่อดิจิทัล คุณจะต้องไปขึ้นบัญชีกับผู้ให้บริการออกใบอนุญาตเสียก่อน คุณสามารถหารายชื่อผู้ให้บริการออกใบอนุญาตที่บริการกับผู้ใช้ตัวโปรแกรมรหัส Windows Media Encoder ได้จาก www.microsoft.com/windows/windowsmedia/drm/ คุณสามารถติดต่อผู้ให้บริการเหล่านี้ได้โดยตรง เพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริการ DRM ที่เขา ให้บริการอยู่
เมื่อเลือกผู้ให้บริการได้แล้ว คุณจะต้องไปขึ้นบัญชีและสร้างโครงร่างหรือพรไฟล์ DRM ขึ้นมา ขั้นตอนที่แน่นอนจะขึ้นให้กับผู้บริการ ซึ่งอาจจะแตกต่างกันไป แต่โดยทั่วไปคุณจะต้องกรอกข้อมูลส่วนตัว เช่น สถานที่ติดต่อและวิธีการชำระเงิน รวมทั้งทางเลือกต่างๆ สำหรับใบอนุญาตของคุณ เช่น สิทธิและเงื่อนไขในการออกใบอนุญาตตัวโครงร่าง DRM อาจสร้างขึ้นเองโดยตรงจากคอมพิวเตอร์ ที่เข้ารหัสข้อมูล หรืออาจสร้างจากเครื่องให้บริการใบอนุญาตของผู้ให้บริการออกใบอนุญาตแล้วส่ง มาให้คุณเพื่อที่คุณจะดึงเข้าไปยังคอมพิวเตอร์สำหรับเข้ารหัสข้อมูลอีกครั้งหนึ่งก็ได้ สำหรับรายละเอียดการนำเข้าและส่งออกโครงร่าง DRM สามารถอ่านได้จากส่วนช่วยเหลือของโปรแกรม Windows – Media Encoderได้
การปกป้องเนื้อหาโดยใช้โปรแกรม Windows Media Encoder
หลังจากที่คุณขึ้นบัญชีไว้กับผู้ให้บริการออกใบอนุญาตและได้รับโครงร่าง DRM แล้ว คุณสามารถเริ่มขั้นตอนการปกป้องเนื้อหาของคุณได้โดยไม่ต้องคำนึงว่าคุณจะแจกจ่ายเนื้อหาในรูปแบบใดมา ไม่ว่าจะเป็นแฟ้มข้อมูล สื่อสายธารหรือทั้งสองอย่าง ขณะที่คุณปรับแต่งการเข้ารหัสในช่วงนั้น ให้คุณเลือก DRM Profile บนแท็บ Security ของแผง Secsion Properties หลังจากนั้นให้กด Apply แล้วเริ่มขั้นตอนการเข้ารหัสได้
ในระหว่างกระบวนการปกป้องเนื้อหาอยู่นี้ โปรแกรม Windows Media Encoder จะสร้างกุญแจเพื่อเข้ารหัสลับให้กับเนื้อหา ,เข้ารหัสลับให้กับเนื้อหา,และเพิ่มข่าวสารเฉพาะของ DRM ลงไปในส่วนหัวของเนื้อหานั้น ถึงตอนนี้ บัตรหรือข้อมูลประจำกุญแจ ก็จะถูกสร้างขึ้นด้วยและแสดงให้เห็น บนแท็บ Security ข้อมูลประจำตัวกุญแจจะไปใช้เป็นขั้นตอนวิธีในการเข้ารหัสลับร่วมกับค่าหรือชุด ตัวเลขที่เป็นความลับอื่น ๆ เพื่อสร้างกุญแจรหัสลับขึ้นมา ตัวข้อมูลประจำตัวกุญแจเองนั้นไม่ได้เป็นความลับ มันจะถูกบันทึกไว้ที่ส่วนหัวของเนื้อหา ผู้ให้บริการออกใบอนุญาตจะดึงเอาค่าของข้อมูลประจำตัวกุญแจนี้ไปสร้างเป็นกุญแจที่จะใส่รวมไปในใบอนุญาตอีกทีหนึ่ง หากไม่ได้รับคำแนะนำ เป็นอย่างอื่นจากผู้ให้บริการออกใบอนุญาต ไมโครซอฟต์แนะนำให้ใช้ Windows Media Encoder สร้างข้อมูลประจำตัวกุญแจซึ่งจะเป็นค่าที่ไม่ซ้ำกันเลยขึ้นมาเองในแต่ละครั้งที่คุณทำการเข้ารหัสข้อมูล ถึงแม้ว่าคุณจะรุบุข้อมูลประจำตัวกุญแจได้ด้วยตนเองก็ตาม
การปกป้องผลงานด้วย DRM
ระบบ DV ได้ก่อให้เกิดความคล่องตัวให้กับการผลิตรายการโทรทัศน์อย่างมาก ด้วยขนาด ที่เล็กกะทัดรัด ประหยัด และยังคงไว้ซึ่งคุณภาพสูงสุดในทุกขั้นตอนของการผลิต โอกาสจึงเกิดขึ้นกับนักสร้างสรรค์รายการอย่างไม่เคยมีมาก่อน ผู้ผลิตหน้าเกิดขึ้นมากมาย บางรายแยกตัวออกมาจาก สังกัดเดิม รายการดี ๆ หลายรายการเป็นผลงานของผู้ผลิตหน้าใหม่ มือสมัครเล่น หรือแม้จากนักเรียนนักศึกษา อาจกล่าวได้ว่า วันนี้เริ่มมีรายการวิดีโอ โทรทัศน์ รวมทั้งสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ที่พร้อม จะนำไปเผยแพร่ให้เป็นประโยชน์ได้สะสมไว้จำนวนมาก ขาดแต่เพียงระบบการจัดการที่ดี การมี ศูนย์รวมข้อมูล ศูนย์ให้บริการ และที่สำคัญ เรายังไม่มีวิธีการปกป้องลิขสิทธิ์อย่างมีประสิทธิภาพ รายการดี ๆ หลายรายการจึงเสียโอกาสที่จะสร้างประโยชน์ให้กับผู้บริโภคและเจ้าของผลงานอย่าง น่าเสียดาย
การละเมิดลิขสิทธิ์คือปัญหาใหญ่
แต่เดิมที่การเผยแพร่เนื้อหาจะอยู่ในรูปของม้วนเทป แผ่นเสียง และเลเซอร์ดิสก์ ซึ่งล้วนเป็นระบบแนะล็อกทั้งสิ้น การละเมิดลิขสิทธิ์จึงยังมีไม่มากเช่นปัจจุบัน การทำสำเนาหรือก๊อบปี้แบบ แอนะล็อกเพื่อแจกจ่ายนั้นยุ่งยาก เสียเวลา ทำครั้งละมาก ๆ ได้ยาก ที่สำคัญคุณภาพจะลดลงทุกครั้ง ที่มีการก๊อบปี้ต่อ ๆ กันไป เนื้อหาที่ก๊อบปี้มาจึงเทียบกับต้นฉบับไม่ได้ แต่พอเข้าสู่ยุคดิจิทัลการก๊อบปี้จะเป็นแบบบิตต่อบิต คุณภาพของการก๊อบปี้จึงเท่ากับต้นฉบับทุกประการ การผลิตครั้งละมาก ๆ ทำได้อย่างสะดวก ผู้ใช้เนื้อหาไม่สามารถแยกออกได้ว่าอันไหนเป็นต้นฉบับ อันไหนเป็นของที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ยิ่งระบบอินเทอร์เน็ตมีการพัฒนาให้เร็วขึ้น ได้รับความนิยมมากขึ้น โอกาสที่เนื้อหาจะถูกละเมิดลิขสิทธิ์ก็มากขึ้นเป็นเงาตามตัว การค้นหาวิธีการปกป้องลิขสิทธิ์แบบต่าง ๆ จึงเกิดขึ้น ตั้งแต่ การป้องกันการก๊อบปี้ตรง ๆ จากสื่อบันทึก การเข้ารหัสให้กับเนื้อหา จนถึงการกำหนดให้มีรหัสผ่าน เป็นต้น อย่างไรก็ตามยิ่งมีการป้องกันเนื้อหามากเท่าใดก็ยิ่งจะสร้างความยุ่งยากต่อผู้ใช้มากขึ้นเท่านั้น นอกจากนั้นมันยังอาจเป็นการลิดรอนสิทธิอันพึงมีของผู้ใช้ไปบางส่วน การรณรงค์เพื่อให้ผู้ใช้รู้จักเคารพสิทธิของผู้อื่นจึงเป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยลดความยุ่งยากในการหาวิธีปกป้องลิขสิทธิ์ในอีก ทางหนึ่ง สำหรับเนื้อหาที่ไม่สำคัญมากนัก หลายบริษัทก็ได้ตกลงใจที่จะยกเลิกการป้องกันลิขสิทธิ์ บนเนื้อหาของตนไปเลยก็มี
ยุคใหม่ของการเผยแพร่เนื้อหา
เมื่ออินเทอร์เน็ตกลายเป็นช่องทางการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพและได้รับความนิยมอย่างสูงสุดเช่นทุกวันนี้ การเผยแพร่เนื้อหาแบบดิจิทัล เช่น เพลง ภาพยนตร์ และสื่อสาระต่าง ๆ จึงหันมาใช้ ช่องทางอินเทอร์เน็ตไปด้วย ในยุคที่มีการแข่งขันสูงและเวลาเป็นเงินเป็นทอง ผู้บริโภคไม่เพียงต้องการทางเลือกสินค้าที่มากกว่าเท่านั้น แต่ยังต้องการสั่งแบบพิเศษหรือจัดส่วนผสมของสินค้าเองได้อีกด้วย ดังนั้นชื่อเสียงและความยิ่งใหญ่ของผู้ขายจึงไม่จำเป็นเท่ากับความถูกต้องและรวดเร็วที่โลกธุรกิจ สมัยใหม่ต้องการ
เมื่อผู้บริโภคเริ่มเข้าใจและคุ้นเคยกับวิธีการจำหน่ายแบบใหม่การซื้อเพลงแบบออนไลน์ ก็ได้เริ่มขึ้น การเช่าภาพยนตร์แบบดาวน์โหลดก็กำลังตามมาเช่นกัน การวิเคราะห์ทางอุตสาหกรรม ชี้ให้เห็นว่า ภายใน 10 ปี จากนี้ ภาพยนตร์และเพลงจะจำหน่ายผ่านอินเทอร์เน็ตเป็นหลัก ด้วยเหตุผล ต่อไปนี้
* ไม่ต้องใช้พื้นที่ในการเก็บสินค้าคงคลัง
* ไม่ต้องมีหีบห่อบรรจุภัณฑ์
* ไม่ต้องใช้บริการรับ-ส่งสินค้า
* ซื้อขายได้ตลอด 24 ชั่วโมง
* จำกัดจำนวนพนักงาน
* ไม่ต้องมีหน้าร้านจริง
* ไม่ต้องมีพ่อค้าคนกลาง หรือช่องทางทางการจำหน่ายที่ยุ่งยาก
* มีลูกค้ากว่า 3 ร้อยล้านคนทั่วโลก
จากเหตุผลดังกล่าวจะเห็นได้ว่า การจำหน่ายเนื้อหาทางอินเทอร์เน็ตนั้นเหนือกว่าวิธีแบบปกติอย่างมากมาย จนไม่น่าจะมีเหตุผลอื่นใด ที่จะมายับยั้งความนิยมในการซื้อขายด้วยวิธีนี้ได้ อย่างไร ก็ตามความเสี่ยงสูงต่อการถูกละเมิดลิขสิทธิ์นั้นก็ยังเป็นปัญหาที่แก้ไม่ตกและขาดมาตรฐานรองรับ การคิดค้นหาวิธีการป้องกันลิขสิทธิ์จึงออกมาในหลายลักษณะและหนึ่งในความเป็นไปได้ก็คือ การนำระบบการจัดการสิทธิดิจิทัล ที่เรียกว่า Digital Right Management เข้ามาใช้งาน